ขณะที่คุณกำลังทานสตรอว์เบอร์รี Harumiki เราอยากให้ลองสังเกตความหวานละมุน parabolan 100 ความเปรี้ยวจางๆ และความซับซ้อนของรสชาติที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้คือเรื่องราวที่สตรอว์เบอร์รีกำลังสื่อถึงคุณว่าพวกมันเติบโตมาอย่างไร
รสชาติเป็นสิ่งบอกคุณภาพสตรอว์เบอร์รี ตั้งแต่ลักษณะเด่นของสายพันธุ์ ไปจนถึงการบำรุงดูแล แต่ถึงจะเป็นสตรอว์เบอร์รีพันธุ์เดียวกันหากปลูกต่างสภาพแวดล้อมผลลัพธ์ย่อมแตกต่าง อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญของรสชาติก็คือ อุณหภูมิ นั่นเอง
รสหวานต้องการอากาศเย็น
ความเย็นเป็นมิตรกับสตรอว์เบอร์รีที่สุด สตรอว์เบอร์รีจะเติบโตได้ดีในอุณหภูมิราวๆ 20 องศาเซลเซียส (Kimura, 2008) และหากความต่างอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนมีมาก สตรอว์เบอร์รีจะติดดอกได้มาก
อุณหภูมิภายในโรงเรือนของ Harumiki จึงเย็นเฉียบถึง 15 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน จนถึงช่วงที่สตรอว์เบอร์รีติดผล ความเย็นยังทำหน้าที่ต่อในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเนื้อสตรอว์เบอร์รี ไปพร้อมๆ กับเพิ่มขนาดผล และรักษาคุณภาพผิว สตรอว์เบอร์รี Harumiki จึงมีผลใหญ่ ผิวมันวาวสวยงาม และรสชาติหวานตามสายพันธุ์
ไม่เพียงความเย็น แต่แสงก็สำคัญ
แสงเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของพืชแทนทุกชนิดบนโลก ต่อให้เป็นพืชเมืองหนาวอย่างสตรอว์เบอร์รีก็ใช้แสงในทุกกระบวนการ สารแอนโทไซยานิน และคุณค่าทางอาหารส่วนใหญ่ในสตรอว์เบอร์รีมีจุดกำเนิดมาจากแสง
สีสันสดใส และรสเปรี้ยว (acid) ที่ช่วยปรุงให้สตรอว์เบอร์รีมีรสชาติกลมกล่อม เป็นผลจากการได้รับแสงอย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม แสงเป็นพลังงานความร้อน หากมีมากเกินไปรสชาติของสตรอว์เบอร์รีจะเปลี่ยนไปเป็นเปรี้ยว ผลเล็ก และสุกก่อนเวลา เพื่อลดผลลัพธ์ที่ไม่พึงปรารถนา Harumiki จึงศึกษาปริมาณแสงที่สตรอว์เบอร์รีพันธุ์ Akihime ต้องการ และควบคุมการให้แสงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จนเกิดสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่ช่วยสร้างสตรอว์เบอร์รีรสอร่อยและมีคุณภาพดีที่สุด
เรื่องเล่าจากสตรอว์เบอร์รียังไม่จบ เพราะแม้จะเก็บเกี่ยวแล้ว อุณหภูมิยังเข้ามาควบคุมรสชาติในขณะที่คุณกำลังทานสตรอว์เบอร์รีอีกด้วย
หากคุณเก็บสตรอว์เบอร์รีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส หรือแช่ตู้เย็นจนเย็นจัดแล้วนำออกมาทานทันที ความเย็นจะทำให้ลิ้นของคุณรับรสหวานได้น้อยลง แต่คุณสามารถทานสตรอว์เบอร์รีให้อร่อยขึ้นแบบง่ายๆ โดยเก็บสตรอว์เบอร์รีไว้ที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส นี่เป็นอุณหภูมิที่ทำให้คุณได้รสชาติที่แท้จริงของสตรอว์เบอร์รี และการทานแบบสดยังช่วยให้ได้วิตามินครบถ้วนอีกด้วย
บรรณานุกรม
Kimura, M. 2008. Vegetative growth and reproductive growth, p.73-96. In: Encyclopedia in Vegetable Crops Horticulture – Strawberry, 2nd Edition. Nobunkyo, Tokyo.